บอร์ดสนทนา สสจ.ลพบุรี
เมษายน 19, 2024, 07:41:38 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จะ POST กระทู้...กรุณาสมัครสมาชิกก่อนครับเพื่อป้องกัน Spam ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สรุปสาระสำคัญของการสัมมนาเรื่อง “ต่อต้านคอร์รัปชั่น...จุดเปลี่ยนประเทศไทย”  (อ่าน 3561 ครั้ง)
puntawut
Moderator
สมาชิกซีเนียร์
*****
กระทู้: 137


ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: สิงหาคม 29, 2011, 11:58:41 am »

สรุปสาระสำคัญของการสัมมนา
   การประชุมสัมมนาเรื่อง “ต่อต้านคอร์รัปชั่น...จุดเปลี่ยนประเทศไทย” เป็นการประชุมที่ภาคีเครือข่ายการป้องกันและปราบปรามทุจริตคอร์รัปชั่น  23  องค์กร  ดังรายชื่อที่แนบ  จัดงานสัมมนา  “ต่อต้านคอร์รัปชั่น  จุดเปลี่ยนประเทศไทย”  ระดมความคิดเห็นทุกภาคส่วนดันให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม  และมีส่วนร่วมต่อต้านการโกงกิน  โดยชูฮ่องกงเป็นตัวอย่างประเทศที่ประสบความสำเร็จในการกวาดล้างคอร์รัปชั่น  เชื่อมั่นประเทศไทยเปลี่ยนแปลงได้หากทุกฝ่ายร่วมมือ  โดยมีสาระดังนี้

   1. การสัมมนาในครั้งนี้  ได้กำหนดหัวข้อหลัก  เรื่อง  “ต่อต้านคอร์รัปชั่น  จุดเปลี่ยนประเทศไทย”  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงาน  องค์กร  ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน  ตลอดจนสื่อมวลชนได้รับทราบสถานการณ์และผลกระทบของปัญหาคอร์รัปชั่นของประเทศไทย  และเรียนรู้ประสบการณ์ในการป้องกัน  และปราบปรามคอร์รัปชั่นของต่างประเทศ  ที่ดำเนินการจนประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี  นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก  ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี  นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ  ในฐานะผู้นำรัฐบาลที่มีความมุ่งมั่นจะแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น  ของประเทศไทยให้ลุล่วง  เป็นประธานพิธีเปิดการสัมมนาและปาฐกถาพิเศษเรื่อง  ต่อต้านคอร์รัปชั่น  จุดเปลี่ยนประเทศไทย  และได้รับเกียรติจากผู้บริหารระดับสูง  ICAC  ประเทศฮ่องกง  2  ท่านคือ  Mr.Timothy  TONG  กรรมาธิการ  และ  Ms.Julie  MU  ผู้อำนวยการด้านชุมชนสัมพันธ์  มาถ่ายทอดประสบการณ์ในการป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชั่นของ  ICAC และสำหรับในช่วงบ่ายเป็นการสัมมนากลุ่มย่อย  เพื่อระดมความคิดเห็นเรื่อง  แนวทางความร่วมมือในการต่อต้านการคอร์รัปชั่น  ซึ่งแบ่งออกเป็น  4  กลุ่ม  ประกอบด้วย  กลุ่มเด็กและเยาวชน  ครู  ประชาชน, กลุ่มภาคเอกชน, กลุ่มสื่อมวลชน  และกลุ่มภาครัฐ  เพื่อให้คนไทยทุกคนจะได้ร่วมกันรณรงค์สร้างเครือข่ายต้อต้านการคอร์รัปชั่น  ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อประเทศไทยจะเจริญอย่างยั่งยืนสืบต่อไป

   2. คนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยตระหนักถึงภัยของการทุจริตคอร์รัปชั่น  ทั้งยังมองว่าเป็นเรื่องปกติ  และ “ยอมให้โกงได้ถ้ามีผลงาน”  หากปล่อยทิ้งไว้ก็เหมือนกับมะเร็งร้ายที่จะกัดกร่อนประเทศไทย  จนอาจถึงขั้นล่มสลายในที่สุด  เราต้องเริ่มต้นแสดงพลังให้ทุกภาคส่วนเห็นว่าภาคีเครือข่ายฯ  ของเราเอาจริงเอาจัง  และพร้อมที่จะร่วมมือกันอย่างแข็งขัน  เพื่อให้การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม  ด้วยการหยุดให้หรือหยุดจ่าย  เพื่อยุติข้ออ้างที่ว่าการทุจริตคอร์รัปชั่น  เกิดจากมีผู้ให้จึงมีผู้รับ  ถ้าเรายุติการให้หรือการจ่ายที่ไม่ถูกต้อง  ก็ถือเป็นการตัดวงจรอุบาทว์นี้ไปโดยปริยาย”

   3.  การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น  จะสามารถเปลี่ยนแปลงประเทศไทยไปในทางที่ดีขึ้นได้  เพราะได้เห็นตัวอย่างการต่อต้านของประเทศฮ่องกงที่ทำสำเร็จมาแล้ว  ฮ่องกงเมื่อยี่สิบปีที่แล้ว  สถานการณ์ทุจริตคอร์รัปชั่นเลวร้ายกว่าบ้านเรา  แต่วันนี้ฮ่องกงสามารถพลิกฟื้นจากที่เคยมีภาพลักษณ์ของการโกงกินแทบทุกขั้นตอนในการทำธุรกิจ  กลายเป็นมีความโปร่งใสเป็นอันดับที่  13  ของโลก  ซึ่งนับว่าเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น  ในเมื่อฮ่องกงยังทำได้สำเร็จ  ประเทศไทยก็ต้องทำได้เช่นกัน  หากทุกคนร่วมมือร่วมใจกันมุ่งมั่นเอาจริงเอาจังในการแก้ปัญหานี้ เชื่อว่าประเทศไทยจะสามารถหยุดการทุจริตคอร์รัปชั่น  และเปลี่ยนแปลงประเทศไปในทางที่ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน
4.   Mr.Ferdinand  (Nandor)  Gyula  von der Luehe  รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่ง
ประเทศไทย  และประธานคณะทำงานป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชั่น  หอการค้าไทย  และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  ซึ่งทำธุรกิจอยู่ในประเทศไทยนานถึง  23  ปี  เปรียบเหมือนคนไทยคนหนึ่งที่ได้เห็นถึงสถานการณ์การทุจริตคอร์รัปชั่นที่ฝังรากลึกและกัดกร่อนทำลายประเทศไทยมายาวนาน  กล่าวว่า  “ปัจจุบัน  การทุจริตคอร์รัปชั่นนับเป็นปัญหาสำคัญระดับโลก  ที่หลายประเทศพยายามหามาตราการป้องกันและปราบปราม  ทั้งการออกกฎหมายควบคุมพฤติกรรม  การส่งเสริมให้มีระบบการตรวจสอบซึ่งกันและกัน  โดยยังคงส่งเสริมการดำเนินธุรกิจและรักษาความสัมพันธ์อันดีกับหน่วยงานภาครัฐ  การทุจริตคอร์รัปชั่นไม่เพียงแต่จะเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าของเศรษฐกิจ  แต่ยังเพิ่มต้นทุนทางธุรกิจและความเหลื่อมล้ำทางสังคม  ทั้งยังส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์และความสามารถในการแข่งขันของประเทศอีกด้วย”
   “การดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นของประเทศฮ่องกง  ล้วนเป็นแนวทางที่น่าสนใจและน่าจะนำมาเป็นกรณีศึกษา  ไม่ว่าจะเป็นการใช้ระบบตรวจสอบและคานอำนาจ  หรือการปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีกับประชาชน  เพื่อกำหนดแนวทางปรับใช้กับประเทศไทยต่อไป”

   5.   ผลการวิจัยสถานการณ์คอร์รัปชั่นไทยของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเมื่อปลายปี  2553  ระบุว่า  ข้าราชการ  นักธุรกิจ  และประชาชนกลุ่มตัวอย่าง  1220  คน  เห็นตรงกันว่าสถานการณ์คอร์รัปชั่นไทยมีแนวโน้มความรุนแรงเพิ่มขึ้นโดยร้อยละ  83.3  เห็นด้วยมากที่สุดว่าปัญหาการคอร์รัปชั่นสมควรได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง  ผู้ประกอบการกว่าร้อยละ  71  รู้ว่าจะต้องจ่ายอย่างไร  และเท่าใด  เพื่อความสะดวกในการทำงาน  แม้เจ้าหน้าที่รัฐไม่เรียกร้องก็ตาม  และอีกร้อยละ  29  จ่ายเมื่อเจ้าหน้าที่รัฐเรียกร้อง  และเกือบร้อยละ  80  ของผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจกับภาครัฐต้องจ่ายเงินเพื่อให้ได้จากรัฐ  โดย  1  ใน  3  ต้องจ่ายเงินมากกว่าร้อยละ  25  นอกจากนี้  ผู้ประกอบการส่วนใหญ่กว่าร้อยละ  77.6  ยินดีมีส่วนร่วมต่อต้านคอร์รัปชั่น  และผู้ประกอบการกว่าร้อยละ  20.7  อยากมีส่วนร่วมแต่ทำไม่ได้  เพราะมีความจำเป็นทางธุรกิจ  และร้อยละ  1.7  เท่านั้นที่ไม่อยากมีส่วนร่วม   

บันทึกการเข้า
Benitamem
น้องใหม่ซิงๆ
*
กระทู้: 2


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 31, 2014, 04:11:40 pm »

ถือว่าเป็นการสรุปที่ดีนะครับ
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.9 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!