บอร์ดสนทนา สสจ.ลพบุรี
มีนาคม 29, 2024, 04:34:09 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จะ POST กระทู้...กรุณาสมัครสมาชิกก่อนครับเพื่อป้องกัน Spam ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความเข้าใจที่ผิดๆเกี่ยวกับคนทำงานคอมพิวเตอร์  (อ่าน 1713 ครั้ง)
tanasith
Administrator
สมาชิกซีเนียร์
*****
กระทู้: 220



ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: มีนาคม 02, 2011, 09:31:48 pm »


คงไม่ใช่คุณเพียงคนเดียวหรอดที่คิดแบบนี้คนส่วนใหญ่ก็คิดแบบนี้ครับ เรื่องที่ผมจะพูดก็คือ คนส่วนใหญ่ชอบคิดว่าคนที่เก่งคอมฯ จบคอมฯ หรือทำงานเกี่ยวกับคอมฯ ต้องรู้ทุกอย่าง ทุกเรื่อง ทุกซอกทุกมุมเกี่ยวกับคอมฯ มันเป็นเรื่องที่ไม่แปลกเลยครับ เพราะ ส่วนส่วนใหญ่ไม่รู้เลยว่าคำว่า คอมพิวเตอร์ มันมีสาขาที่แตกแขนงแยกย่อยออกไปขนาดไหน ดังนั้นเวลาที่ผมได้ยินคำว่า "อะไรฟะ Excel แค่นี้ก็ทำไม่ได้แล้วมาอยู่ศูนย์คอมฯได้ไงฟะ" "เครื่องพี่ไม่ติดมาดูหน่อยเป็นอะไรก็ไม่รู้" "ตัดต่อภาพให้พี่หน่อย ห๊า..อะไรน่ะแค่นี้ก็ทำไม่ได้" "เขียนโปรแกรมให้พี่หน่อย อ้าว~~ก็เรียนคอมฯมานี่ทำไม่ได้หรอกเหรอ" ฯลฯ

เมื่อก่อนเวลาผมได้ยินคำพวกนี้ผมจะรู้สึก หงุดหงิดเล็กๆ แต่ก็เข้าใจว่าเกิดจากความไม่รู้ของคนทั่วไป คนส่วนมากก็จะมองว่าคนที่เรียนคอมฯ ทำงานคอมฯ ต้องซ่อมคอมฯ ได้ ทำนั่นทำนี้ได้ไปซะทุกอย่าง ผมเคยเจอเหตุการณ์ที่น้องเรียน ป.ตรีวิทยาการคอมฯ มาฝึกงานโดนว่าซะน้ำตาซึมเลยว่า "เรียนคอมฯมาภาษาอะไรซ่อมคอมไม่เป็น" จริงๆเรื่องนี้ผมอยากบอกว่าน้องไม่ผิดนะครับ แต่ผมอายแทนที่เจ้าหน้าที่ของเราไม่รู้เรื่องรู้ราวไปว่าเขาแบบนั้น เพราะ

การซ่อมประกอบคอม จะ้เป็นหลักสูตร ปวช. ปวส. สาขาช่างคอมพิวเตอร์ ของสถาบันอาชีวศึกษาครับ

ส่วนพวกที่เรียน ปวช. ปวส. คอมพิวเตอร์ธุรกิจ หลักสูตรนี้จะเน้นไปในทางการใช้งานพวก Word Excel PowerPoint โปรแกรมสำนักงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง

ส่วนพวกที่เรียนระดับปริญญาตรีไม่ว่าสาขาไหนของหลักสูตรคอมพิวเตอร์ เช่น วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ IT ไม่แปลกที่เขาจะซ่อมคอมไม่เป็น ใช้ word excel ไม่คล่อง เพราะ หลักสูตร

วิทยาการคอมพิวเตอร์ จะเน้นลงลึกไปในศาสตร์กระบวนการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ การเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมคอมพิวเตอร์ จะหนักไปในเชิงนักวิจัย/นักวิชาการ

IT เป็นสาขาที่เรียนเพื่อให้รู้กว้าง เพื่อนำ IT มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่องค์กร


ดังนั้นพวกที่เรียน ป.ตรี แล้วเห็นซ่อมคอมได้นี่จะเป็นพวกใจรักฝึกหัดด้วยตนเองกันทั้งนั้น นี่ผมไม่นับรวมสาขาที่ยังไม่ได้กล่าวถึง เช่น

- คอมพิวเตอร์กราฟฟิก/Multi Media   เน้นไปพวก ออกแบบ แต่งภาพ CG
- Network เน้นไปพวกระบบเครือข่ายทั้งหมด (ไม่ใช่เดินสาย LAN นะครับ) พวกนี้เขาเรียนถึง ระบบความเครือข่าย วิธีการป้องกัน จะเน้นไปในทาง Config จัดการอุปกรณ์ FireWall/Rounter อะไรพวกนี้
- Computer Engineer
- Software Engineer
-          ฯลฯ

ซึ่งแต่ละเรื่อง แต่ละสาขามันก็จะลงลึกไปในเรื่องของมัน (คล้ายๆหลักสูตรเฉพาะทางของแพทย์) ดังนั้นที่ผมมาลงบทความในเรื่องนี้เพียงเพื่อหวังว่าหลายๆคนจะเปลี่ยนทัศนะเกี่ยวกับคนทำงานคอมพิวเตอร์ว่าต้องรู้ไปหมดทำได้หมด

ผมยกตัวอย่างง่ายๆ แค่เรื่องเขียนโปรแกรมมีหลายคนคิดว่าคนเรียนคอมต้องเขียนโปรแกรมเป็นทุกคนซึ่งจริงๆแล้วเมื่อถึง ปี 4 เขาก็จะลือกไปตามสายที่เขาถนัดมันไม่ใช่ว่าทุกคนจะทำเป็นกันหมด ในเรื่องนี้ผมขอเปรียบกับภาษาไทย ทุกคนก็อ่านออกเขียนได้ใช่ไหมครับ แต่ถ้าผมบอกว่าช่วยแต่งนิยายให้ผมเรื่องนึงคุณคิดว่ามันยากไหมครับ...ทั้งๆที่ก็เขียนเป็นภาษาไทยนั่นแหละ การเขียนโปรแกรมก็เป็นแบบนี้เหมือนกันครับต้องเขียนคำสั่งไม่รู้กี่บรรทัดกว่าจะได้มาสัก 1 หน้าจอของโปรแกรม อ่านหนังสือไม่รู้กี่เล่ม นอนแค่วันละไม่กี่ชั่่วโมง แต่หลายคนกลับมองว่ามันคือเรื่องง่ายๆที่ใครเรียนคอมมาก็ทำได้



นี่ผมยังไม่ได้นับ Requirement อื่นๆอีกนะครับ ลองคิดดูนะครับงานทั้งหมดที่ผมพูดมานี่ คือ สิ่งที่ศูนย์ ICT สสจ.ทำอยู่ ไม่นับรวมพวกงานเอกสาร ทำแผน รายงาน ส่งข้อมูล ที่เป็นงานประจำเหมือนฝ่ายอื่นๆ ขอให้เข้าใจว่างานคอมมันไม่ได้มีแค่งานซ่อมอย่างที่หลายๆคนคิด ผิดนิดพลาดหน่อยให้อภัยกันนะครับ...

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 03, 2011, 08:28:53 am โดย tanasith » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.9 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!