บอร์ดสนทนา สสจ.ลพบุรี
เมษายน 23, 2024, 05:45:09 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จะ POST กระทู้...กรุณาสมัครสมาชิกก่อนครับเพื่อป้องกัน Spam ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อาชีพคอมพิวเตอร์ความเจริญก้าวหน้าทางอนาคต  (อ่าน 1984 ครั้ง)
tanasith
Administrator
สมาชิกซีเนียร์
*****
กระทู้: 220



ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: มีนาคม 02, 2011, 08:30:22 pm »

   ถ้าการเป็นหัวหน้าศูนย์คอมพิวเตอร์ และมีเงินเดือนประมาณเดือนละ 5 หมื่นบาท คือเป้าหมายของชีวิตของท่านละก็   เชิญอ่านบทความนี้ต่อไป แต่ท่านเห็นว่าตำแหน่งนี้ยังต่ำเกินไป หรือเงินเดือนแค่นี้ (ในค่าของเงินปัจจุบัน) ยังไม่เป็นที่พอใจของท่าน ท่านก็ควรหันไปยึดอาชีพอื่นเสียโดยเร็ว

    ครับ การเป็นนักคอมพิวเตอร์นั้น ไม่มีอะไรดีเท่าใดนัก หลาย ๆ คนฝันหวานฝันว่าจะใช้ศูนย์คอมพิวเตอร์เป็นหนทางไต่เต้าไปสู่ตำแหน่งใหญ่ ๆ เช่น CIO หรือ CEO แต่เท่าที่ผ่านมา เรายังไม่เคยเดินทางขึ้นไปถึงจุดนั้น คนที่เขาไต่ขึ้นไปเป็นใหญ่เป็นโตได้นั้น เขาเลือกที่จะแยกออกไปทำงานในหน้าที่อื่นเสียก่อนมากกว่า สำหรับเงินเดือนก็เช่นกัน มีคนพูดกันมากกว่าในระยะนี้ (ปี พ.ศ. 2533-2535) มีการซื้อตัวนักคอมพิวเตอร์ในราคาแพง ๆ แต่ถ้าท่านติดตามข่าวให้จริง ๆ จัง ๆ ก็พบว่า มี 80-90 เปอร์เซ็นต์ของคนที่สามารถขายตัวได้ราคาสูง ๆ นั้นก็เริ่มเห็นแล้วว่าไม่มีอนาคตในงานเดต้าโปรเซสซิงพวกเขาอาศัยความสามารถในการติดต่อเพื่อขบับไปทำงานหน้าที่อื่น
หัวหน้าศูนย์คอมพิวเตอร์ที่แท้จริงนั้นมีเงินเดือนอยู่แถว ๆ 5 หมื่นบาทเท่านั้น   ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?

ระบบคอมพิวเตอร์ไทย

    คำนวณได้ไม่ยากครับ ศูนย์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ นั้นมีอยู่ 3 ประเภทเท่านั้น คือ ศูนย์ของธนาคารพาณิชย์ศูนย์ของหน่วยราชการ นอกนั้นจะเป็นศูนย์ขนาดที่มีคนต่ำกว่า 20 คนทั้งนั้นสำหรับศูนย์คอมพิวเตอร์ของธนาคารพาณิชย์นั้น ถึงแม้ว่าจะมีคนเป็นร้อย แต่การให้เงินสูงกว่าอำนวยการฝ่ายอื่น ๆ นั้นเป็นไปไม่ได้ ธนาคารพาณิชย์ไม่เคยมองเห็นความสำคัญของศูนย์คอมพิวเตอร์ เขาเอาใจใส่ฝ่ายการธนาคารและฝ่ายสินเชื่อมากกว่า

ศูนย์คอมพิวเตอร์นั้นเมื่อเทียบกับฝ่ายการพนักงานยังมีน้ำหนักต่ำกว่าด้วยซ้ำไป ดังนั้นเงินเดือนจึงไม่เกินอำนวยการฝ่ายการพนักงาน นอกจากนี้แล้ว การมีนักคอมพิวเตอร์อยู่ในศูนย์คอมพิวเตอร์นับร้อย ๆ คนนั้นทำให้ผู้บริหารไม่แคร์กับหัวหน้าศูนย์ คุณลาออกไปเขาก็มีคนขึ้นมาทำงานแทนได้ ลูกน้องลาออกไปเขาก็บังคับให้คุณฝึกขึ้นมาใหม่ก็ได้ ที่เขาบ่น ๆ กันนั้น เป็นการบ่นเล่น ๆ มากกว่า สำหรับศูนย์ของราชการนั้นท่านก็คงจะทราบดีเงินเดือน 17,000 บาทเขาก็ว่ามากแล้ว

ทั้งนี้เพราะเกือบเท่าอธิบดีบางคนเข้าไปแล้ว ในเรื่องการมองเห็นความสำคัญนั้น ผู้บริหารของหน่วยราชการยังจะดีเสียกว่า คือเขาต้องพึ่งพาอาศัยเราจริง ๆ ถ้าหัวหน้าศูนย์ลาออก เขาจะเดือดร้อนพอสมควร ทั้งนี้เพราะคนในศูนย์ที่อยู่ถัดมาอาจมีความรู้ไม่ถึงจุดที่จะบริหารศูนย์ได้

    โอเค ศูนย์ใหญ่ๆ นั้นจ้างกันแค่ 17,000 ถึง 50,000 บาทเท่านั้น แล้วศูนย์ขนาดเล็กซึ่งได้แก่ไแนนซ์คำปานีและบริษัทที่มีโรงงานผลิตสินค้าในเมืองไทยเขาจ้างกันอย่างไร? เรื่องนี้อาจมีบางบริษัทที่ไปซื้อตัวคนมาในราคาเงินเดือน 100,000 ถึง 150,000 บาท แต่เขามีคนแค่ 20 คน และในจำนวนนี้เป็นด้านปฏิบัติการเสียครึ่งหนึ่ง คนที่เหลือจึงทำโปรแกรมได้แค่ปีละ 1-2 เรื่องเท่านั้น หลังจากที่เร่งพัฒนางานสำคัญ (ซื้อขายหุ้น ลงทะเบียนผู้ฝากเงินและออกตั๋วเงิน) เสร็จแล้วก็จะไม่มีแรงไปทำอะไรได้อีก เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดจะเป็นเงินแค่ 15-30 ล้านบาท คนที่มีอยู่จะต้องดูแลปรับปรุงระบบค่าใช้จ่ายของศูนย์ก็เพียงปีละ 5-10 ล้านบาท ถ้าคุณกินเงินเดือนเขา 150,000 บาท เขาก็ต้องจ่ายปีละประมาณ 3.0 ล้านบาท

ซึ่งคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของค่าใช้จ่ายแล้วกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ ผู้บริหารเห็นตัวเลขนี้แล้วก็จะหาทางธุรกิจเลย หรือพูดกับคนไม่ค่อยรู้เรื่อง เขาจะบีบให้คุณลาออก ดังนั้น จงอย่าหวังว่าจะได้เป็นหัวหน้าศูนย์ที่มีเงินเดือนสูง ๆ ได้นาน ศูนย์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเหล่านี้ เมื่องานเข้าที่ดีแล้วก็จะจ้างคนระดับ 3 หมื่นบาทเท่านั้น ปัญหาของเขาก็เหมือนๆ กับธนาคารพาณิชย์ คือ เอาไปเปรียบเทียบกับฝ่ายอื่นๆ แล้วก็ปรับให้อยู่ต่ำกว่าฝ่ายอื่น ๆ เล็กน้อย ทั้งนี้เพราะคุณเป็น "Cost Center"

แนะแนวทาง

    การเป็นหัวหน้าศูนย์คอมพิวเตอร์และมีเงินเดือนอยู่แถว ๆ 5 หมื่นบาทนั้นเป็นอย่างไร? ผมคิดว่าก็ไม่เลวนักถ้าอยู่กับธนาคารก็มีรถประจำตำแหน่งให้ด้วย และยังอาจได้โบนัสอีกปีละ 4 เดือน ถ้าอยู่กับศูนย์ขนาดเล็กด้านไฟแนนซ์ ถึงแม้จะมีเงินเดือนต่ำลงหน่อย แต่ก็ได้โบนัส 8-9เดือน ด้วยเงินเดือนขนาดนี้ ท่านก็จะผ่อนส่งบ้านและรถยนต์ได้ใน 10-15ปี และสามารถส่งเสียให้ลูกเต้าเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยได้โดยไม่ขัดสน แต่โอกาสที่จะเป็นเศรษฐีนั้นไม่มี ผมอยากจะย้ำว่า "ไม่มีเลย" ทั้งนี้เพราะงานด้านคอมพิวเตอร์ที่จะจับจองเวลาของท่านจนหมดวัน เรื่องนี้จะเห็นได้จากคำแนะนำที่ผมจะกล่าวถึงต่อไป คือ "ทำอย่างไรจึงจะไต่เต้าขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งนี้ได้ และจะรักษาเก้าอี้อันนี้ไว้ได้อย่างไร"

    คำแนะนำของผมมี 5 ข้อดังนี้
    1.Learn a lot
    2.Practice (even) more
    3.Look ahead
    4.Avoid Pitfalls
    5.Keep o­n talking


    ครับ คำแนะนำข้อแรกคือ ต้องศึกษาอยู่ตลอดเวลา งานด้านคอมพิวเตอร์นี้มีเรื่องใหม่เกิดขึ้นทุก ๆ ชั่วโมง เรื่องส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับแนวคิดในการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ แต่การจะประยุกต์ใช้ในแต่ละเรื่องนั้น ต้องรู้ว่าเครื่องยี่ห้อไหนทำอะไรได้บ้าง ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีออกมาสู่ตลาดทุก ๆ วัน เราต้องติดตามโดยอ่านวารสารต่าง ๆ เราจะใช้หลักการกว้าง ๆ ไม่ได้ รายละเอียดของตัวฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์จะเป็นตัวบอกเราว่าอะไรทำได้ และอะไรทำไม่ได้ และข้อมูลเหล่านี้เปลี่ยนแปลงทุกๆ วัน คนที่จะไต่ขึ้นไปเป็นหัวหน้าศูนย์ได้นั้น ต้องรู้จักเครื่องมือเครื่องใช้เกือบทุกรุ่นและทุกยี่ห้อ การตัดสินใจผิดเพียงครั้ง-สองครั้งอาจทำให้ถูกเขี่ยออกจากตำแหน่งได้ (เพราะมีคนอยากเป็นแทน)


    เฉพาะแค่อ่านเฉย ๆ นั้นก็ยังไม่พอ ทั้งนี้เพราะเอกสารอาจเขียนไว้ไม่ตรงกับความจริง และหลาย ๆ อย่างเราอาจเข้าใจผิดได้ ดังนั้น นักคอมพิวเตอร์ต้องมีโอกาสทดลองด้วย แต่เราจะไปทดลองในทุก ๆเรื่องก็ไม่ได้เรื่องนี้ต้องรู้จักเลือก คือเลือกเรื่องที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์กับหน่วยงานที่เรารับใช้อยู่ เช่น ถ้าหน่วยงานของเราต้องการฐานข้อมูลขนาดใหญ่ เราก็คงต้องเล่นกับเครื่องเมนเฟรมหรือซูเปอร์มินิ ถ้าหน่วยงานของเราต้องทำงานวิเคราะห์และตัดสินใจแบบ Real-Time มากๆ เราก็ต้องเล่น High Power Workstation แต่ถ้างานของเราเป็นการเก็บข้อมูลและอัพเดตแบบ o­n-line Real-time ทั่วๆ ไป เราก็ต้องเล่นกับแลนและไมโครคอมพิวเตอร์

แต่อย่างไรก็ตามงานด้านคอมพิวเตอร์นี้หนีไม่พ้นเรื่องการออกแบบระบบและเขียนโปรแกรมด้วยภาษาและเทคนิคต่าง ๆ นักคอมพิวเตอร์ต้องประมาณความยากง่ายของการพัฒนาระบบงานได้อย่างแม่นยำ การตั้งโครงการและการควบคุมโครงการก็จะมีตัวเลขอ้างอิงได้

มุมมองอนาคตคอมพิวเตอร์

    เรารู้เรื่องเครื่องและซอฟต์แวร์นั้นก็ยังไม่พอ เพราะถ้าทำได้เพียงแค่พัฒนาโปรแกรมเราก็จะตายในตำแหน่งโปรแกรมเมอร์ หรือออกแบบระบเก่งก็จะเป็นได้แค่หัวหน้าทางด้านพัฒนาระบบความสามารถอีกอย่างหนึ่งของหัวหน้าศูนย์ก็คือ ต้องมองเห็นอนาคต ดังนั้น ถ้าคุณอยากจะไต่เต้าขึ้นไปก็ต้องรู้จักนั่งทางใน คือเดาเหตุการณ์ให้ออกว่าในอนาคตเขาจะมีเครื่องชนิดไหนออกมาขาย และเราจะต้องปรับทีมงานไว้อย่างไร เรื่องนี้เป็นเรื่องที่จะทำให้ท่านปวดหัวและเจ็บซ้ำน้ำใจมากอย่างเช่น เมื่อ 10 ปีก่อนผมมองเห็นว่า เดต้าโปรเซสซิงจะเปลี่ยนเป็นแบบกระจาย (Distributed Data Processing) แต่พูดไปแล้วไม่มีใครเชื่อผู้ขายก็ไม่ยอมขายให้ เจ้านายก็หาว่าคุณฝันเฟื่อง เขาคิดว่าเป็นความเสี่ยงแต่พอมาถึงปัจจุบันเขากลับพูดว่า "ทำไมคุณไม่ศึกษาเรื่องนี้เอาไว้"

ในตอนนี้ก็มีอีกคือ ผมมองเห็นว่าผู้ผลิตแมนเฟรมจะต้องตายใน 3-5ปีข้างหน้า แต่ก็มีผู้บริหารบางท่านบอกว่า ใคร ๆ เขาก็หันกลับมาใช้ระบบ "รวมศูนย์" มิใช่หรือ? ระบบแลน (Local Area Network) น่าจะเป็นของเล่นสำหรับบริษัทเล็ก ๆ มิใช่หรือ? ฯลฯ พูดง่าย ๆ คือ เราต้องมองไปข้างหน้า (Look ahead) แล้วนำแนวคิดเหล่านั้นมาเสนอเอาไว้แต่อย่าคาดหวังว่าผู้บริหารจะเห็นด้วย มันมีประโยชน์เพียงเพื่อบอกว่าเรายังเดินถูกทางอยู่เสมอ ถ้าคุณเป็นคนประเภท "ครับผม" หรือคือนายว่าอย่างไรก็รีบไปจัดหามาให้นาย เขาก็จะลดเงินเดือนคุณลงไป เพราะเขาจ้างเพื่อเป็นผู้ปฏิบัติงานตามสั่งเท่านั้น คนแบบนั้นมีอีกแยะในโลกนี้ เขากดราคาคุณได้

    โอเค รู้จักเรียน รู้จักฝึกฝน และรู้จักเดาเหตุการณ์ในอนาคตนั้น จะทำให้คุณโดดเด่นขึ้นมา คุณจะเป็นนักคอมพิวเตอร์ในระดับแนวหน้า แต่ถ้าคุณทำอะไรพลาดเพียงครั้งเดียวคุณก็จะดับ ดังนั้นข้อแนะนำข้อที่ 4 คือ อย่าทำอะไรพลาด ความผิดพลาดนั้นมาได้หลายทาง ทางด้านเทคนิคนั้นอาจเกิดขึ้นจากการประมาณการผิด เช่น ระบบฐานข้อมูลนั้นมักจะกินกำลังเครื่องสูงกว่าที่คิด ในสหรัฐอเมริกานั้นเจอกันมาหลายราย เช่น ระบบจัดเก็บภาษี ระบบประกันสังคม ระบบประกันสุขภาพ และแม้แต่ระบบบริการออนไลน์ของธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ด้วย

การประมาณการผิดจะทำให้เครื่องทำงานได้ช้ากว่าที่คิดไว้ และอาจช้าไปถึง 2-3 เท่าตัว เครื่องจึงรับงานไม่ได้ และถึงแม้จะขยายขนาดซีพียูออกไปแล้วก็ยังรับโหลดไม่ไหว ทั้งเพราะระบบสื่อสารและจำนวนเทอร์มินัลก็ยังไม่เพียงพอ ความผิดพลาดอีกทางหนึ่งจะมาจากเรื่องคน เช่น ขาดการเตรียมการ ขาดการฝึกอบรม ขาดกำลังใจ ลูกน้องทะเลาะกับยูสเซอร์ ยูสเซอร์ไม่พอใจในระบบและบริการ สิ่งเหล่านี้ต้องใช้ความสามารถในการจัดการ หรือ คือเราต้องเป็นแมนเนเจอร์ที่ดีด้วย

สรุปส่งท้าย

    ครับ ข้อแนะนำข้อสุดท้ายคือ ต้องออกไปแสดงความคิดเห็นอยู่เสมอ งานด้านคอมพิวเตอร์เป็นงานวิชาการ เราต้องนำผลงานออกแสดง ต้องแสดงต่อทั้งสาธารณชนและเจ้านาย งานคอมพิวเตอร์นี้จริง ๆ แล้วเป็นการปิดทองหลังพระ คือไปช่วยฝ่ายงานต่าง ๆ ให้ทำงานได้ดีขึ้น เร็วขึ้น แต่เขากลับเป็นผู้ได้รับผลตอบแทน เช่น เซลส์เพิ่มขึ้น ลดค่าใช้จ่ายได้ ทำได้ตามเป้าหมาย ฝ่ายงานต่าง ๆ ก็จะได้รับการปรบมือ และได้ขึ้นเงินเดือนกัน แต่จะไม่มีใครพูดเลยว่าที่ขายได้มากขึ้น หรือลดค่าใช้จ่ายได้นั้นมาจากคอมพิวเตอร์ การทำงานแบบปิดทองหลังพระนี้ทำได้ไม่นานหรอก มนุษย์เราต้องการกำลังใจ กำลังใจจะเกิดขึ้นได้ก็เมื่อมีคนเห็นผลงานในเมื่อเราไม่มีทางออกโดยตรง เราก็ต้องหาทางออกทางอ้อม คือเอาผลงานไปเล่าสู่กันฟัง หรือมีโอกาสก็พูดในที่ประชุมต่าง ๆ ใครที่ไม่รู้จักพูดจะอัดอั้นใจตาย ทำงานอยู่ได้ไม่นานก็ต้องย้ายงาน สรุปแล้วข้อแนะนำข้อสุดท้ายนี้ มีไว้เพื่อรักษาสุขภาพทางจิตของคุณ (ผู้อยากเป็นหัวหน้าศูนย์คอมพิวเตอร์)

    มาถึงตอนนี้ท่านผู้อ่านก็คงจะมองเห็นได้แล้วว่า การจะเป็นหัวหน้าศูนย์คอมพิวเตอร์นั้นมันยุ่งยากแค่ไหน และมันจะคุ้มกับเงินเดือน ๆ ละ 5 หมื่นบาทหรือไม่ สิ่งสุดท้ายที่ผมอยากจะเตือนไว้ก็คือ ถ้าคุณหย่อนในข้อที่ 5 อายุของคุณจะสั้นลงประมาณ 10-20 เปอร์เซ็นต์ คนที่พูดน้อย หรือไม่มีโอกาสได้พูดให้นายเข้าใจจะผมหงอกเต็มตัว หน้ายู่ยี่ หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ เหงื่อออกโดยไม่มีเหตุผล หัวสมองร้อนเป็นแถบ ๆ หรือเป็นจุด ๆ บางคนปวดหัวอยู่เนืองนิจ ดังนั้น ท่านจึงควรคิดให้ดีเสียก่อนที่จะเลือกอาชีพนี้ ไปขายเต้าฮวยได้กำไรวันละ 500-600 อาจมีความสุขมากกว่า

ดร. ปัญญา เปรมปรีดิ์ (ไมโครคอมพิวเตอร์ 92)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 02, 2011, 08:40:03 pm โดย tanasith » บันทึกการเข้า
popeetee4785
บุคคลทั่วไป


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2011, 08:52:17 am »

ถ้าเจริญได้ต้องมีความพัฒนาตัวเองไปข้างหน้าอยู่ตลอดเวลา
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.9 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!