บอร์ดสนทนา สสจ.ลพบุรี
เมษายน 19, 2024, 09:26:48 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จะ POST กระทู้...กรุณาสมัครสมาชิกก่อนครับเพื่อป้องกัน Spam ครับ
 
  หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
  แสดงกระทู้
หน้า: [1]
1  ข่าวสารจากผู้ดูแลระบบ / เกาะติดสถานการณ์อุทกภัย / 04/10/54 สถานการณ์และการให้ความช่วยเหลือด้านการแพทย์และสาธารณสุข เมื่อ: ตุลาคม 04, 2011, 02:44:19 pm
ศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินด้านการแพทย์และการสาธารณสุข
 กรณีอุทกภัย จังหวัดลพบุรี สำนักงานสารณสุขจังหวัดลพบุรี

บทสรุปผู้บริหาร
ข้อมูล ณ วันที่  4   เดือน ตุลาคม  พ.ศ. 2554 เวลา 8.00 น.

1.  สถานการณ์ปัจจุบัน
จังหวัดลพบุรีมีพื้นที่ประสบอุทกภัย ตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน – 3 ตุลาคม 2554  จำนวนทั้งสิ้น 11 อำเภอ 116  ตำบล   980 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 103,845 ครัวเรือน  ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้วอยู่ระหว่างฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและควบคุมป้องกันโรค  จำนวน 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโคกเจริญ อำเภอลำสนธิ อำเภอสระโบสถ์  อำเภอท่าหลวง และอำเภอหนองม่วง ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ จำนวน 6 อำเภอ 59 ตำบล 423 หมู่บ้าน/ชุมชน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 56,777 ครัวเรือน ได้แก่อำเภอเมือง  อำเภอบ้านหมี่ อำเภอท่าวุ้ง  อำเภอชัยบาดาล อำเภอโคกสำโรง และอำเภอพัฒนานิคม  ในที่นี้มีพื้นที่เสี่ยงมีระดับน้ำรุนแรง/มีแนวโน้มสูงขึ้น จำนวน 3 อำเภอ 36 ตำบล 313 หมู่บ้าน/ชุมชน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 38,729 ครัวเรือน
มีผู้เสียชีวิต 16 ราย (อำเภอโคกสำโรง 1 ราย อำเภอเมือง 12 ราย อำเภอบ้านหมี่ 1 รายและอำเภอท่าวุ้ง 1 ราย) ไม่มีผู้สูญหาย ประชาชนบาดเจ็บต้องส่งต่อผู้ป่วยผ่านระบบ EMS จำนวน 10 ราย

สถานการณ์น้ำ
1) อำเภอเมือง  มีพื้นที่ประสบอุทกภัย จำนวนทั้งสิ้น 23  ตำบล   205 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 29,936 ครัวเรือน   ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ จำนวน 18 ตำบล  151 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 29,352 ครัวเรือน  ในที่นี้มีพื้นที่เสี่ยงมีระดับน้ำรุนแรง/มีแนวโน้มสูงขึ้น จำนวน 18 ตำบล 149 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 24,236 ครัวเรือน  (คิดเป็นร้อยละ 100 ของจำนวนตำบลที่ยังคงมีน้ำท่วมอยู่)

2) อำเภอท่าวุ้ง  มีพื้นที่ประสบอุทกภัย จำนวนทั้งสิ้น 11  ตำบล 128 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 11,088 ครัวเรือน   ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ จำนวน 11 ตำบล  128 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 10,282 ครัวเรือน ในที่นี้มีพื้นที่เสี่ยงมีระดับน้ำรุนแรง/มีแนวโน้มสูงขึ้น จำนวน 11 ตำบล 128 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 9,376 ครัวเรือน  (คิดเป็นร้อยละ 100 ของจำนวนตำบลที่ยังคงมีน้ำท่วมอยู่)

3) อำเภอบ้านหมี่  มีพื้นที่ประสบอุทกภัยและยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ จำนวนทั้งสิ้น 19  ตำบล 113 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 16,048 ครัวเรือน   ในที่นี้มีพื้นที่เสี่ยงมีระดับน้ำรุนแรง/มีแนวโน้มสูงขึ้น จำนวน7 ตำบล 36 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 5,117 ครัวเรือน ได้แก่ ต.บางขาม,ต.บ้านชี,ต.บางพึ่ง,ต.มหาสอน,     ต.สนามแจง , ต.สายห้วยแก้ว และ ต.หนองเต่า (คิดเป็นร้อยละ 37 ของจำนวนตำบลที่ยังคงมีน้ำท่วมอยู่)

4) อำเภอโคกสำโรง  มีพื้นที่ประสบอุทกภัย จำนวนทั้งสิ้น 13  ตำบล   137 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 13,829 ครัวเรือน   ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ ลักษณะน้ำท่วมขังเล็กน้อยระดับน้ำลดลงสู่สภาวะปกติ จำนวน 3 ตำบล 6 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 38 ครัวเรือน  ได้แก่ ต.วังจั่น (หมู่1-4) ต.วังขอนขว้าง (หมู่6) และ ต.โคกสำโรง  (หมู่1,)

5)  อำเภอชัยบาดาล มีพื้นที่ประสบอุทกภัย จำนวนทั้งสิ้น 17 ตำบล 128 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 16,554 ครัวเรือน   ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ลักษณะน้ำท่วมขังไม่รุนแรง  จำนวน 7  ตำบล  21 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 949 ครัวเรือน ได้แก่ ต.บัวชุม  ต.นิคมลำนารายณ์ , ต.ท่าดินดำ ,ต.ท่ามะนาว ,ต.เกาะรัง, ต. ลำนารายณ์ และ ต.ชัยนารายณ์

6) อำเภอพัฒนานิคม  มีพื้นที่ประสบอุทกภัย จำนวนทั้งสิ้น 19  ตำบล  70 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 4,303 ครัวเรือน   ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ลักษณะน้ำท่วมขังไม่รุนแรง  จำนวน 1  ตำบล  4 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 108 ครัวเรือน คือ ตำบลหนองบัว

2. หน่วยงาน และสถานบริการสาธารณสุขที่ได้รับผลกระทบ 
2.1 สถานบริการสาธารณสุข  ได้รับความเสียหายรวมจำนวนทั้งสิ้น 36 แห่ง เปิดให้บริการได้แล้ว จำนวน 6 แห่ง , เปิดให้บริการได้บางส่วน จำนวน 18 แห่ง และไม่สามารถให้บริการ ณ หน่วยที่ตั้ง จำนวน 10 แห่ง (บริการที่จุดอพยพ)
2.2  บุคลากรสาธารณสุขที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 225 ราย
2.3  อสม. ที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 1,641  ราย
2.4  ประชาชนบาดเจ็บต้องส่งต่อผู้ป่วยผ่านระบบ EMS จำนวน 10 ราย

3.  ยอดผู้เสียชีวิตจากสถานการณ์อุทกภัย
   มีผู้เสียชีวิตรวม 16 ราย สาเหตุจากจมน้ำ จำนวน 14 ราย (คิดเป็นร้อยละ 88 ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด)   ที่อำเภอโคกสำโรง จำนวน 1 ราย อำเภอเมือง จำนวน 10 ราย บ้านหมี่ จำนวน 1 รายและอำเภอท่าวุ้ง จำนวน 2 ราย และสาเหตุจากไฟฟ้าช๊อต จำนวน 2 ราย (คิดเป็นร้อยละ 22 ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด) ที่อำเภอเมือง 
 
4. การบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข
จัดหน่วยแพทย์/หน่วยสาธารณสุขเคลื่อนที่ ทั้งของเครือข่ายบริการสุขภาพ /รพ.สต.ในพื้นที่ และหน่วยแพทย์/หน่วยสาธารณสุขเคลื่อนที่จากหน่วยงานอื่นๆ รวมจำนวนทั้งสิ้น 193 ครั้ง มีผู้มารับบริการ จำนวน 19,002 ราย  โรคที่แสดงอาการมาจากสาเหตุจากการประสบอุทกภัย 5 อันดับแรก ได้แก่ น้ำกัดเท้า จำนวน 2,130 ราย, โรคผิวหนัง /ผื่นคัน จำนวน 1,506 ราย,ปวดกล้ามเนื้อ จำนวน 853 ราย,โรคปวดศรีษะ จำนวน 599 ราย และโรคกังวล /นอนไม่หลับ จำนวน 291 ราย และโรคที่ต้องเฝ้าระวังสำคัญจากการประสบอุทกภัย ได้แก่ โรคระบบทางเดินหายใจ จำนวน 610 ราย, โรคอุจจาระร่วง (Acute diarrhea) จำนวน 62 ราย, โรคตาแดง (Conjunctivitis) จำนวน 27 ราย,โรคไข้เลือดออก (DHF,DF,DSS) จำนวน 16 ราย และโรคมือ เท้า ปาก จำนวน 2 ราย
แจกยาชุดช่วยเหลือน้ำท่วม จำนวน 74,264  ชุด
จัดทีมสุขภาพจิตดำเนินงานตรวจประเมินปัญหาสุขภาพจิตให้แก่ผู้ประสบภัย จำนวน 1,795 ราย ผลการประเมินส่วนใหญ่ปกติ จำนวน 1,168 ราย (คิดเป็นร้อยละ 87) มีภาวะซึมเศร้า จำนวน 45 ราย (คิดเป็นร้อยละ 3) มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย จำนวน 36 ราย (คิดเป็นร้อยละ 2)   และต้องติดตามดูแลพิเศษ  จำนวน 119 ราย
 
5. การสนับสนุนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี
5.1  ผู้บริหาร สสจ.ลพบุรี  ประชุม War Room ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ และจัดทีมออกปฏิบัติงานเพื่อสนับสนุนและเยี่ยมเยียนพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน 2554 เป็นต้นมา รวมจำนวนทั้งสิ้น 46 ครั้ง
5.2 จัดรถสุขศึกษาประชาสัมพันธ์จำนวน 1 คัน ออกปฏิบัติงาน 5 ครั้ง ให้ความรู้แก่ผู้ประสบภัยฯ ในพื้นที่ 6 ตำบล 800 ราย ให้ความรู้แก่ อสม.และผู้นำชุมชน จำนวน 1 ตำบล (ตำบลโก่งธนู อ.เมือง)  จำนวน 120  ราย แจกสื่อให้วิทยุชมชนในพื้นที่ประสบภัยฯ 22 แห่ง , อปท. 5 แห่ง แจกเอกสารแผ่นพับ 19,000 แผ่น และคู่มือการดูแลสุขภาพตนเอง 500 เล่ม เครือข่ายบริการสุขภาพจัดรถสุขศึกษาประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ประสบภัยในเขตรับผิดชอบ จำนวน 27 ครั้ง ให้ความรู้แก่ผู้ประสบภัยฯ จำนวน 12,141 ราย
5.3 สนับสนุนส้วมลอยน้ำ จำนวน 66 หลัง ,ส้วมฉุกเฉิน (สุขาเคลื่อนที่(เก้าอี้/กล่องกระดาษ)) จำนวน 2,752 ตัว
5.4 ทีม SRRT จังหวัดประสานงานกับ SRRT อำเภอ ออกปฏิบัติงานฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและควบคุมป้องกันโรคในพื้นที่สถานการณ์คลี่คลาย /หลังน้ำท่วม ดังนี้  สาธิตการใช้/ให้บริการ/แจก EM จำนวน 720  หลังคาเรือน สาธิตการตรวจหาคลอรีนในน้ำ/วิธีการใช้ จำนวน 120 หลังคาเรือน สารส้ม จำนวน 90  หลังคาเรือน การควบคุมโรคไข้เลือดออกด้านกายภาพ จำนวน 557  หลังคาเรือน พ่น ULV จำนวน 500  หลังคาเรือน สาธิตการทำรองเท้านินจา จำนวน 227  ราย แจกถุงดำ จำนวน 4,270 หลังคาเรือน, EM  BALL จำนวน 630 หลังคาเรือน
5.5  ร่วมกับเครือข่ายบริการสุขภาพ (CUP.) ในสังกัด  ออกปฏิบัติงานเยียวยาจิตใจผู้ประสบภัย ณ จุดอพยพ กิจกรรมดำเนินงาน ประกอบด้วย ด้านโภชนบำบัด (เลี้ยงอาหาร) , ด้านหัตถบำบัด (นวดผ่อนคลายความเครียด) และ    จิตบำบัด (สวดมนต์,นั่งสมาธิ) จำนวน 7ครั้ง 1,040 ราย

6. สรุปผลการประชุม WAR ROOM วันที่ 3 ตุลาคม 2554 ณ ห้องประชุมชลสิทธิ์ สสจ.ลพบุรี
   1.  มอบหมายให้กลุ่มงานยุทธศาสตร์ติดตามแผนการออกให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ ของอำเภอเมือง,บ้านหมี่ และอำเภอท่าวุ้ง ให้เป็นปัจจุบัน เพื่อนำมาวางแผนสนับสนุนไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน
   2.  มอบหมายให้กลุ่มงานยุทธศาสตร์สำรวจบุคลากรสาธารณสุขที่ได้รับผลกระทบและความต้องการความช่วยเหลือ เช่น บ้านพัก , การเดินทางมาปฏิบัติราชการ เป็นต้น และให้กลุ่มงานบริหารสำรวจบ้านพักของ สสจ.ที่สามารถรองรับบุคลากรสาธารณสุขที่จะอพยพมาด้วย
   3.  สพฉ.สนับสนุนเงินช่วยเหลือน้ำท่วม จำนวน 100,000 บาท
   4.  กลุ่มงาน คบ. แจ้งว่าได้สนับสนุนยาชุดช่วยเหลือฯ ให้วัดป่าเทพนฤมิตร อ.เมือง จำนวน 200 ชุด และหมู่ที่ 2 ต.ทะเลชุบศร อ.เมือง อีก จำนวน 400 ชุด และยาน้ำกัดเท้า จำนวน 200 หลอด และขอรถ จำนวน 1 คัน เพื่อไปรับยาชุดช่วยหลือฯ ยาน้ำกัดเท้าและยากันยุง ที่ สสจ.อ่างทอง
    5. ข้อสั่งการเพิ่มเติม
      5.1 การให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ ขอมีการบูรณาการกิจกรรมแบบ Package กิจกรรมพื้นฐานได้แก่ งานควบคุมป้องกันโรค งานสร้างเสริมสุขภาพ และงานสุขภาพจิต ทั้งนี้ขอให้สัมพันธ์กับแผนของ CUP. เพื่อป้องกันความซ้ำซ้อนและยุ่งยากในการปฏิบัติจริงแก่พื้นที 
5.2  การเยียวยาจิตใจผู้ประสบภัย ณ จุดอพยพ มุ่งเน้นกิจกรรม 3 ด้าน คือ ด้านโภชนบำบัด ด้านจิตบำบัด และด้านหัตถบำบัด (เสริมการออกกำลังกายเพื่อยืดเยียดกลามเนื้อ โดย อสม.)
      5.3  การเยียวยาจิตใจ / ให้ขวัญกำลังใจบุคลากรสาธารณสุขที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย เช่น การจัดหาที่พัก สถานที่ปฏิบัติงานที่สามารถเดินทางไปปฏิบัติงานได้จริง (กรณีไม่สามารถเดินทางมาปฏิบัติงาน     ณ หน่วยงานได้)

7.  แผนการออกให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยของ CUP.  ณ วันที่ 4 ตุลาคม 2554 ตามเอกสารแนบท้าย


***********************************

นางจิราภรณ์  คนมั่น  ผู้รายงาน
2  ข่าวสารจากผู้ดูแลระบบ / เกาะติดสถานการณ์อุทกภัย / 03/10/54 สถานการณ์และการให้ความช่วยเหลือด้านการแพทย์และสาธารณสุข เมื่อ: ตุลาคม 03, 2011, 04:45:41 pm
ศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินด้านการแพทย์และการสาธารณสุข
 กรณีอุทกภัย จังหวัดลพบุรี สำนักงานสารณสุขจังหวัดลพบุรี


บทสรุปผู้บริหาร
ข้อมูล ณ วันที่  3   เดือน ตุลาคม  พ.ศ. 2554 เวลา 8.00 น.


1.  สถานการณ์ปัจจุบัน
จังหวัดลพบุรีมีพื้นที่ประสบอุทกภัย ตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน – 2 ตุลาคม 2554  จำนวนทั้งสิ้น 11 อำเภอ 116  ตำบล   980 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 102,892 ครัวเรือน  ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้วอยู่ระหว่างฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและควบคุมป้องกันโรค  จำนวน 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโคกเจริญ อำเภอลำสนธิ อำเภอสระโบสถ์  อำเภอท่าหลวง และอำเภอหนองม่วง ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ จำนวน 6 อำเภอ 64 ตำบล 477 หมู่บ้าน/ชุมชน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 56,409 ครัวเรือน ได้แก่อำเภอเมือง  อำเภอบ้านหมี่ อำเภอท่าวุ้ง  อำเภอชัยบาดาล อำเภอโคกสำโรง และอำเภอพัฒนานิคม  มีผู้เสียชีวิต 16 ราย (อำเภอโคกสำโรง 1 ราย อำเภอเมือง 12 ราย อำเภอบ้านหมี่ 1 รายและอำเภอท่าวุ้ง 1 ราย) ไม่มีผู้สูญหาย ประชาชนบาดเจ็บต้องส่งต่อผู้ป่วยผ่านระบบ EMS จำนวน 10 ราย

        สถานการณ์น้ำ
1)   อำเภอเมือง  มีพื้นที่ประสบอุทกภัย จำนวนทั้งสิ้น 23  ตำบล   205 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 29,047 ครัวเรือน   ในที่นี้มีพื้นที่ที่มีสถานการณ์น้ำรุนแรงและระดับน้ำมีแนวโน้มสูงขึ้น  จำนวน 18 ตำบล   134 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 28,133 ครัวเรือน  ได้แก่ ต.ป่าตาล ,ต.พรมมาสตร์,ต.งิ้วราย,ต.ทะเลชุบศร,    ต.โก่งธนู, ต.ท่าแค, ต.ดอนโพธิ์, ต.บางขันหมาก,ต.โพธิ์เก้าต้น,ต.สี่คลอง,ต.ตะลุง,ต.ถนนใหญ่,ต.ท้ายตลาด, ต.โคกกระเทียม, ต.เขาพระงาม ต.บ้านข่อย,ต.โพธิ์ตรุ และต.โคกลำพาน

2) อำเภอท่าวุ้ง  มีพื้นที่ประสบอุทกภัย จำนวนทั้งสิ้น 11  ตำบล 128 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 10,218 ครัวเรือน   ในที่นี้มีพื้นที่ที่มีสถานการณ์น้ำรุนแรงและระดับน้ำมีแนวโน้มสูงขึ้น  จำนวน 11 ตำบล 128 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 9,312 ครัวเรือน  
3) อำเภอบ้านหมี่  มีพื้นที่ประสบอุทกภัย จำนวนทั้งสิ้น 19  ตำบล 113 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 16,048 ครัวเรือน   ในที่นี้มีพื้นที่ที่มีสถานการณ์น้ำรุนแรงและระดับน้ำมีแนวโน้มสูงขึ้น  จำนวน 7 ตำบล     36 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 5,117 ครัวเรือน  ได้แก่ ต.บางขาม,  ต.บ้านชี, ต.บางพึ่ง,ต.มหาสอน,             ต.สนามแจง , ต.สายห้วยแก้ว และ ต.หนองเต่า

4) อำเภอโคกสำโรง  มีพื้นที่ประสบอุทกภัย จำนวนทั้งสิ้น 13  ตำบล   137 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 13,829 ครัวเรือน   ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังเล็กน้อยระดับน้ำลดลงสู่สภาวะปกติ จำนวน 3 ตำบล 6 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 39 ครัวเรือน  ได้แก่ ต.วังจั่น (หมู่1-4) ต.วังขอนขว้าง (หมู่6) และ ต.โคกสำโรง  (หมู่1,)

5)  อำเภอชัยบาดาล มีพื้นที่ประสบอุทกภัย จำนวนทั้งสิ้น 17 ตำบล 128 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 16,554 ครัวเรือน   ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังสถานการณ์น้ำไม่รุนแรง  จำนวน 7  ตำบล  21 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 949 ครัวเรือน ได้แก่ ต.บัวชุม  ต.นิคมลำนารายณ์ , ต.ท่าดินดำ ,ต.ท่ามะนาว ,ต.เกาะรัง,             ต. ลำนารายณ์ และ ต.ชัยนารายณ์

6) อำเภอพัฒนานิคม  มีพื้นที่ประสบอุทกภัย จำนวนทั้งสิ้น 19  ตำบล  70 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 4,303 ครัวเรือน   ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังเล็กน้อยระดับน้ำลดลงสู่สภาวะปกติ จำนวน 1 ตำบล 4 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 108 ครัวเรือน  ได้แก่ ตำบลหนองบัว






2. หน่วยงาน และสถานบริการสาธารณสุขที่ได้รับผลกระทบ  
2.1 สถานบริการสาธารณสุข  ได้รับความเสียหายรวมจำนวนทั้งสิ้น 34 แห่ง เปิดให้บริการได้แล้ว จำนวน 7 แห่ง , เปิดให้บริการได้บางส่วน จำนวน 11 แห่ง และไม่สามารถให้บริการ ณ หน่วยที่ตั้ง(บริการที่จุดอพยพ) จำนวน 16 แห่ง
2.2  บุคลากรสาธารณสุขที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 225 ราย
2.3  อสม. ที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 1,639  ราย
2.4  ประชาชนบาดเจ็บต้องส่งต่อผู้ป่วยผ่านระบบ EMS จำนวน 10 ราย

3.  ยอดผู้เสียชีวิตจากสถานการณ์อุทกภัย
   มีผู้เสียชีวิตรวม 16 ราย สาเหตุจากจมน้ำ จำนวน 14 ราย ที่อำเภอโคกสำโรง จำนวน 1 ราย อำเภอเมือง จำนวน 10 ราย บ้านหมี่ จำนวน 1 รายและอำเภอท่าวุ้ง จำนวน 2 ราย และสาเหตุจากไฟฟ้าช๊อต จำนวน 2 ราย ที่อำเภอเมือง  
 
4. การบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข
จัดหน่วยแพทย์/หน่วยสาธารณสุขเคลื่อนที่ ทั้งของเครือข่ายบริการสุขภาพ /รพ.สต.ในพื้นที่ และหน่วยแพทย์/หน่วยสาธารณสุขเคลื่อนที่จากหน่วยงานอื่นๆ รวมจำนวนทั้งสิ้น 173 ครั้ง มีผู้มารับบริการ จำนวน 17,609 ราย  โรคที่แสดงอาการมาจากสาเหตุจากการประสบอุทกภัย 5 อันดับแรก ได้แก่ น้ำกัดเท้า จำนวน 2,130 ราย, โรคผิวหนัง /ผื่นคัน จำนวน 1,506 ราย,ปวดกล้ามเนื้อ จำนวน 853 ราย,โรคปวดศรีษะ จำนวน 599 ราย และโรคกังวล /นอนไม่หลับ จำนวน 291 ราย และโรคที่ต้องเฝ้าระวังสำคัญจากการประสบอุทกภัย ได้แก่ โรคระบบทางเดินหายใจ จำนวน 610 ราย, โรคอุจจาระร่วง (Acute diarrhea) จำนวน 62 ราย, โรคตาแดง (Conjunctivitis) จำนวน 27 ราย,โรคไข้เลือดออก (DHF,DF,DSS) จำนวน 16 ราย และโรคมือ เท้า ปาก จำนวน 2 ราย
แจกยาชุดช่วยเหลือน้ำท่วม จำนวน 73,764  ชุด
จัดทีมสุขภาพจิตดำเนินงานตรวจประเมินปัญหาสุขภาพจิตให้แก่ผู้ประสบภัย จำนวน 1,379 ราย ผลการประเมินส่วนใหญ่ปกติ จำนวน 1,153 ราย (คิดเป็นร้อยละ 84) มีภาวะซึมเศร้า จำนวน 45 ราย (คิดเป็นร้อยละ 3)         มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย จำนวน 36 ราย (คิดเป็นร้อยละ 3)   และต้องติดตามดูแลพิเศษ  จำนวน 119 ราย (คิดเป็นร้อยละ 8.63)
 
5. การสนับสนุนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี
5.1  ผู้บริหาร สสจ.ลพบุรี  ประชุม War Room ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ และจัดทีมออกปฏิบัติงานเพื่อสนับสนุนและเยี่ยมเยียนพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน 2554 เป็นต้นมา รวมจำนวนทั้งสิ้น 43 ครั้ง
5.2 จัดรถสุขศึกษาประชาสัมพันธ์จำนวน 1 คัน ออกปฏิบัติงาน 5 ครั้ง ให้ความรู้แก่ผู้ประสบภัยฯ ในพื้นที่ 6 ตำบล 800 ราย ให้ความรู้แก่ อสม.และผู้นำชุมชน จำนวน 1 ตำบล (ตำบลโก่งธนู อ.เมือง)  จำนวน 120  ราย แจกสื่อให้วิทยุชมชนในพื้นที่ประสบภัยฯ 22 แห่ง , อปท. 5 แห่ง แจกเอกสารแผ่นพับ 19,000 แผ่น และคู่มือการดูแลสุขภาพตนเอง 500 เล่ม เครือข่ายบริการสุขภาพจัดรถสุขศึกษาประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ประสบภัยในเขตรับผิดชอบ จำนวน 27 ครั้ง ให้ความรู้แก่ผู้ประสบภัยฯ จำนวน 12,141 ราย
5.3 สนับสนุนส้วมลอยน้ำ จำนวน 66 หลัง ,ส้วมฉุกเฉิน (สุขาเคลื่อนที่(เก้าอี้/กล่องกระดาษ)) จำนวน 2,752 ตัว
5.4 ทีม SRRT จังหวัดประสานงานกับ SRRT อำเภอ ออกปฏิบัติงานฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและควบคุมป้องกันโรคในพื้นที่สถานการณ์คลี่คลาย /หลังน้ำท่วม ดังนี้  สาธิตการใช้/ให้บริการ/แจก EM จำนวน 720  หลังคาเรือน สาธิตการตรวจหาคลอรีนในน้ำ/วิธีการใช้ จำนวน 120 หลังคาเรือน สารส้ม จำนวน 90  หลังคาเรือน การควบคุมโรคไข้เลือดออกด้านกายภาพ จำนวน 557  หลังคาเรือน พ่น ULV จำนวน 500  หลังคาเรือน สาธิตการทำรองเท้านินจา จำนวน 227  ราย แจกถุงดำ จำนวน 4,270 หลังคาเรือน, EM  BALL จำนวน 630 หลังคาเรือน
5.5  ร่วมกับเครือข่ายบริการสุขภาพ (CUP.) ในสังกัด  ออกปฏิบัติงานเยียวยาจิตใจผู้ประสบภัย ณ จุดอพยพ กิจกรรมดำเนินงาน ประกอบด้วย ด้านโภชนบำบัด (เลี้ยงอาหาร) , ด้านหัตถบำบัด (นวดผ่อนคลายความเครียด) และ    จิตบำบัด (สวดมนต์,นั่งสมาธิ) จำนวน 6 ครั้ง 840 ราย
*****************************
3  บอร์ดสนทนา / ข่าวประชาสัมพันธ์ / Re: แบบคัดกรองสุขภาพจิตมีปัญหานะครับ...รีบแก้ไขด่วน เมื่อ: กันยายน 19, 2011, 11:22:08 am
ขอบพระคุณ คุณหมอวรวิทย์มากค่ะ แบบฟอร์ม ST-5 เป็นของกระทรวงที่ให้มาค่ะ  ทางผู้รับผิดชอบจะนำเรื่องนี้ไปหารือเพื่อปรับปรุงและดำเนินการต่อไปค่ะ
4  บอร์ดสนทนา / บอร์ดสนทนา / Re: ผิดสุขลักษณะ เมื่อ: ธันวาคม 24, 2010, 10:02:34 am
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรีได้ประสานผู้อำนวยกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองลพบุรีซึ่งเป็นเจ้าพนักงานสาธารณสุขในพื้นที่เกิดเหตุให้ดำเนินการตรวจสอบเพื่อแก้ไขปัญหาเหตุเดือดร้อนรำคาญแล้วค่ะ และทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรีจะได้ติดตามผลการแก้ไขปัญหาต่อไป
   
หน้า: [1]
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.9 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!