บอร์ดสนทนา สสจ.ลพบุรี
พฤษภาคม 15, 2024, 05:23:30 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จะ POST กระทู้...กรุณาสมัครสมาชิกก่อนครับเพื่อป้องกัน Spam ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สรุปสาระสำคัญ พรบ.ข้าราชการพลเรือน 2551  (อ่าน 4774 ครั้ง)
puntawut
สมาชิกซีเนียร์
***
กระทู้: 137


ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2010, 09:40:39 am »

สำหรับ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวมีหลักการสำคัญพอสรุปได้ ดังนี้

(1) การกระจายอำนาจและความรับผิดชอบ
- ให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจและความรับผิดชอบในการบริหารทรัพยากรบุคคลให้กับส่วนราชการและจังหวัดรับไปดำเนินการเอง โดยระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ส่วนราชการสามารถกำหนดจำนวนข้าราชการ ประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับของข้าราชการได้เอง โดยต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความไม่ซ้ำซ้อน และความประหยัด เป็นหลัก ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดของการบริหารรัฐกิจสมัยใหม่ (New Public Management) ที่เน้นหลักการให้ผู้บริหารมีอำนาจในการบริหารอย่างแท้จริง และผู้บริหารควรเป็นผู้รับผิดชอบต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของภารกิจขององค์กร ทั้งนี้ ก.พ. จะกำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์เป็นกรอบกว้าง ๆ ไว้ให้ และจะทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบการดำเนินการ (Post Audit) เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่วางไว้

(2) การปรับโครงสร้างระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทน
- การปรับโครงสร้างตำแหน่งของข้าราชการ หรือการยกเลิกระบบ “ซี” และจัดแบ่งประเภทตำแหน่งเป็น 4 ประเภทให้สอดคล้องกับลักษณะงานในปัจจุบัน ได้แก่ ตำแหน่งประเภทบริหาร ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ตำแหน่งประเภทวิชาการ และตำแหน่งประเภททั่วไป ภายใต้แนวคิดที่จะทำให้ระบบจำแนกตำแหน่งเป็นระบบ Multi Classification Scheme โดยแบ่งประเภทตำแหน่งออกเป็นหลายประเภท เพื่อแยกบัญชีเงินเดือนแต่ละประเภทออกจากกัน ทำให้เกิดความยืดหยุ่น ในการปรับอัตราเงินเดือนให้สอดคล้องกับตลาดและการบริหารผลงาน การจ่ายค่าตอบแทนตามความรู้ความสามารถของข้าราชการแต่ละประเภท รวมทั้งสะท้อนค่างานของตำแหน่งในแต่ละประเภทได้อย่างแท้จริง โดยสามารถเทียบเคียงตำแหน่งในปัจจุบันกับการเข้าดำรงตำแหน่งใหม่ สำหรับการเลื่อนระดับตำแหน่งหรือการย้ายเปลี่ยนกลุ่มประเภทตำแหน่งจะต้องพิจารณาจากเกณฑ์ระดับความรู้/ทักษะ/ระดับสมรรถนะ/ประสบการณ์ที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งโดยจะมีการกำหนดหลักเกณฑ์ต่อไป


(3) สร้างความเป็นมืออาชีพ
- กำหนดให้ทุกกระบวนการของการบริหารทรัพยากรบุคคล จะดำเนินการโดยคำนึงถึงความรู้ ความสามารถเป็นสำคัญ เพื่อให้ข้าราชการมีคุณภาพ คุณธรรม คุณภาพชีวิต มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของภาครัฐ และเน้นให้ข้าราชการเป็น “ผู้ปฏิบัติงานที่ทรงความรู้” หรือ Knowledge Worker โดยมีระบบตำแหน่งมารองรับ กล่าวคือ ข้าราชการที่มีความรู้ ความสามารถ สามารถเติบโตก้าวหน้าได้โดยไม่ต้องมีข้อจำกัดเรื่องตำแหน่ง ซึ่งเป็นไปตามหลักสากล รวมทั้ง เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของข้าราชการควบคู่กับการดูแลคุณภาพชีวิต เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของข้าราชการ สร้างขวัญ กำลังใจในการปฏิบัติงาน และช่วยให้ข้าราชการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข และปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องพะวงกับปัญหาการมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายตามค่าครองชีพที่สูงขึ้นในขณะที่เงินเดือนและค่าตอบแทนเพิ่มไม่ทันกับค่าครองชีพ   

(4) สร้างความเป็นธรรมให้แก่ข้าราชการ
- กำหนดให้มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม หรือ ก.พ.ค. เพื่อทำหน้าที่เป็นที่พึ่งของข้าราชการ โดยแยกบทบาท ภารกิจและหน้าที่ของสำนักงาน ก.พ. ที่แต่เดิมทำหน้าที่รักษาการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน และการพิจารณาวินิจฉัยการลงโทษข้าราชการ ออกจากกัน ช่วยสร้างสมดุลทางการบริหารทรัพยากรบุคคล และดูแลรักษาระบบคุณธรรมให้แก่ข้าราชการ ในภาพรวมเป็นองค์การที่มีอำนาจอิสระ ไม่อยู่ในกำกับจากฝ่ายบริหาร สร้างสมดุลในการบริหารเพื่อรับกับการกระจายอำนาจ ในการจัดการทรัพยากรบุคคล และช่วยให้ข้าราชการได้รับการดูแลเพื่อรักษาไว้ซึ่งระบบ คุณธรรมที่เป็นหลักการสำคัญในการบริหารทรัพยากรบุคคลของราชการ

หากต้องการทราบรายละเอียดต่างๆ เพิ่มเติม สามารถติดตามได้ทางเว็ปไซด์ www.thailocaladmin.go.th คลิกที่ มุม กจ.หรือทางเว็ปไซด์สำนักงาน ก.พ. www.ocsc.go.th
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.9 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!